คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น 2) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น จำนวน 11 แผนการจัดการเรียนรู้ เวลา 17 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.39 ? 0.67 ค่าอำนาจความจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 ? 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น วิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก มีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 จำนวน 11 คน จากนักเรียนทั้งหมด 14 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น วิชาชีววิทยา 3 เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างจากหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 จำนวน 10 คน จากนักเรียนทั้งหมด 14 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้